จัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย! สกอ.
ที่ผ่านมาได้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยหลายครั้ง โดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ
สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)
สำหรับในต่างประเทศ นิตยสารไทมส์ไฮเออร์ นิตยสารเอเชียวีก เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ ได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด
จุดประสงค์ในการจัดอันดับ
จุดประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแตกต่างกันไปตามหน่วยงานหรือนิตยสารที่จัด โดยทาง สกอ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ ขณะที่ สมศ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ
เช่นเดียวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั่วไป นิตยสารได้มีจุดขายในการโฆษณาหนังสือของตนเอง ขณะที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแก่นักเรียน นักศึกษา รวมถึงทางบริษัทที่จะจ้างงานบุคคลจากมหาวิทยาลัยนั้น
ในขณะที่เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์มีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากที่อื่น โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างถึง โดยไม่ได้จัดอันดับตามคุณภาพหรือจำนวนนักศึกษาตามการจัดอันดับทั่วไป
การประเมินคุณภาพวิจัยโดย สกว.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่
1. ความสามารถเฉลี่ยของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับระดับนานาชาติ
2. ความสามารถของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในด้านการได้รับการอ้างอิง
3. ความสามารถของหน่วยงานในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับวารสารระดับนานาชาติ
โดยได้แบ่งระดับการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน
ผลการประเมิน พ.ศ. 2550
ในการประเมินครั้งแรก มีคณะที่สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 78 คณะ จาก 26 มหาวิทยาลัย โดยมีอยู่ 4 คณะที่สามารถจัดกลุ่มได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีอยู่ 1 คณะที่ส่งข้อมูลการวิจัยเพียง 1 ภาควิชา จึงไม่สามารถประเมินได้ ดังนั้นการประเมินจึงมีคณะทั้งสิ้น 81 คณะ และได้ประกาศการประเมินแล้วเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550[1]
ภาพรวมการประเมิน พบว่ามีคณะที่
- ได้คะแนนระดับ ดีมาก 11 คณะ
- ได้คะแนนระดับ ดี 15 คณะ
- ได้คะแนนระดับ ปานกลาง 16 คณะ
- ได้คะแนนระดับ ควรปรับปรุง 27 คณะ
- ได้คะแนนระดับ ต้องปรับปรุงโดยด่วน 10 คณะ
- ไม่ได้จัดระดับ 2 คณะ
และมีคณะที่ได้คะแนนระดับดีมากในตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวทุกตัวจำนวน 2 คณะ คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
คณะ/สาขาที่ได้รับผลประเมินระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 1
คณะ/สาขาที่ความสามารถเฉลี่ยของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับระดับนานาชาติ อยู่ในระดับดีมาก:
- วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์: สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.สุรนารี
- เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์
- เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี, คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
- แพทยศาสตร์/เวชศาสตร์เขตร้อน: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
- วิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] คณะ/สาขาที่ได้คะแนนระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 2
คณะ/สาขาที่ความสามารถของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในด้านการได้รับการอ้างอิง อยู่ในระดับดีมาก:
- วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์: สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล
- เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์
- เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
- แพทยศาสตร์/เวชศาสตร์เขตร้อน: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล
- เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
- วิทยาศาสตร์การแพทย์: คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล
คณะ/สาขาที่ได้คะแนนระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 3
คณะ/สาขาที่ความสามารถของหน่วยงานในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับวารสารระดับนานาชาติ อยู่ในระดับดีมาก:
- วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- วิทยาศาสตร์: คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
- เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์, คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
- เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
- แพทยศาสตร์: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
- เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
- วิทยาศาสตร์การแพทย์: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
การจัดอันดับโดย สกอ.
การจัดอันดับโดย สกอ. ได้มีการจัดทำเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และ มหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น
การจัดอันดับนี้ใช้ชื่อว่า "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[2] ได้แบ่งหัวข้อการจัดอันดับออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ด้านการวิจัย และ ด้านการเรียนการสอน ได้จัดทำออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ อันดับในภาพรวมแบ่งแยกตามมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นกลุ่ม และอันดับแบ่งแยกย่อยในแต่ละสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชาย่อย ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์ (2) สาขาเทคโนโลยี (3) สาขาชีวการแพทย์ (4) สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ (5) สาขาสังคมศาสตร์ (6) สาขาเกษตร (7) สาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์
อันดับโดย สกอ. ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2549) ในภาพรวม แบบตามอันดับ
เมื่อ พ.ศ. 2549 สกอ. ได้ประกาศ 50 อันดับมหาวิทยาลัยด้านวิจัย และด้านการเรียนการสอน[3] โดย 10 อันดับแรกคือ
ด้านการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 80%) |
ด้านการวิจัย (คะแนนเต็ม 100%) |
1. มหาวิทยาลัยมหิดล 61.11% 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52.78% 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 47.27% 4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47.16% 5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 46.12% 6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45.72% 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 45.37% 8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45.07% 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี43.59% 10. มหาวิทยาลัยศิลปากร 43.46% |
1. มหาวิทยาลัยมหิดล 100.00% 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.24% 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 81.49% 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี81.36% 5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 78.68% 6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 75.70% 7. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 74.10% 8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73.61% 9. มหาวิทยาลัยนเรศวร 72.04% 10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 71.26% |
การจัดอันดับโดย นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์
นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี (วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) สาขาเวชชีวศาสตร์สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยไทยอยู่ในอันดับ ตามปี และสาขาต่อไปนี้
ปีที่จัดอันดับ |
สาขา |
สถาบัน |
อันดับ |
หมายเหตุ |
พ.ศ.2547 |
|
|
|
|
พ.ศ.2548 |
ภาพรวม |
|
|
อนึ่ง การจัดอันดับของ THES-QS จัดอันดับทั้งหมด 500 อันดับ แต่ประกาศอย่างเป็นทางการเพียง 200 อันดับ[15] |
|
|
|
|
|
พ.ศ.2549 |
ภาพรวม |
|
|
เมื่อดูจากแถบเอเชียและโอเชียเนีย จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 41 (50) โดยอันดับใกล้เคียง คือ
การจัดอันดับของ THES-QS จัดอันดับทั้งหมด 520 อันดับ แต่ประกาศอย่างเป็นทางการเพียง200 อันดับ[16] |
|
|
|
|
|
พ.ศ.2550 |
ภาพรวม |
|
|
THES - QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมด 566มหาวิทยาลัย[17] |
|
|
|
|
เฉพาะสาขาที่มีมหาวิทยาลัยไทยติด 100 อันดับแรก[18] |
พ.ศ.2551 |
ภาพรวม |
|
|
จากการประกาศมหาวิทยาลัย400 อันดับแรก[19] |
|
|
|
|
|
ขอบคุณที่มาจาก: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี